เปรียบเทียบขนาดของเสือโคร่งตัวเต็มวัยแต่ละพันธุ์ (Mazák 1981) ของ เสือโคร่ง

พันธุ์น้ำหนัก (กก.)ความยาวลำตัว (ม.)*ความยาวกระโหลก (มม.)
ตัวผู้ตัวเมียตัวผู้ตัวเมียตัวผู้ตัวเมีย
เบงกอล180-258100-1602.7-3.12.4-2.65329-378275-311
แคสเปียน170-24085-1352.7-2.952.4-2.6316-369268-305
ไซบีเรีย180-306100-1672.7-3.32.4-2.75341-383279-318
ชวา100-14175-1152.48--306-349270-292
จีนใต้130-175100-1152.3-2.652.2-2.4318-343273-301
บาหลี90-10065- 802.2-2.31.9-2.1295-298263-269
สุมาตรา100-14075-1102.2-2.552.15-2.3295-335263-294
อินโดจีน150-195100-1302.55-2.852.3-2.55319-365279-302
มลายู120100....

ความเชื่อและความสัมพันธ์กับมนุษย์

สัญลักษณ์ของทีมฟุตบอลทีมชาติมาเลเซีย

เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาช้านาน โดยเฉพาะในวัฒนธรรมของเอเชีย มีเรื่องราว ความเชื่อและนิทานเกี่ยวกับเสือโคร่งมากมาย ด้วยเป็นสัตว์ใหญ่มีพละกำลังมากมาย และมีความสง่างาม เช่น เรื่องราวของบู๋ซ้งสู้กับเสือด้วยมือเปล่า ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในวีรบุรุษในวรรณกรรมเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน เป็นต้น[9]

แต่เสือโคร่ง ก็จัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่ทำร้ายและกินมนุษย์ได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในอินเดีย ในช่วงทศวรรษที่ 20 มีผู้ถูกเสือโคร่งฆ่าตายและกินไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ถูกทำร้ายและกินเป็นระยะ ๆ ในอดีตการล่าเสือโคร่ง ถือเป็นกิจกรรมของบุคคลชั้นสูงและระดับเชื้อพระวงศ์ แม้กระทั่งในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างล่าในทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูง และหญ้าต่ำ แต่เสือโคร่งก็สามารถกระโจนหรือโจมตีช้างหรือผู้ที่อยู่บนหลังช้างได้อย่างไม่เกรงกลัว โดยมากแล้ว เสือโคร่งที่กินมนุษย์ จะเป็นเสือโคร่งที่แก่หรือได้รับบาดเจ็บจนไม่อาจล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ชนิดอื่นได้ จึงหันมาโจมตีมนุษย์ เพราะเป็นเหยื่อที่อ่อนแอ โจมตีได้ง่ายกว่า และเมื่อได้กินเนื้อมนุษย์ครั้งแรกแล้วก็จะติดใจ ในบางพื้นที่ของอินเดีย จะมีวิธีการป้องกันเสือโคร่งโจมตีได้ด้วยการใส่หน้ากากไว้ข้างหลัง เพราะเสือโคร่งมักจะโจมตีเหยื่อจากด้านหลัง [5] ในซันดาร์บังส์ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์เขตติดต่อระหว่างอินเดียและบังกลาเทศ เป็นสถานที่ ๆ เป็นที่รู้กันดีว่า เป็นที่ ๆ เสือโคร่งโจมตีใส่มนุษย์มากที่สุด ชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า บอนบีบี ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งป่าช่วยคุ้มครองปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากเสือโคร่ง แต่ก็มีรายงานการโจมตีใส่มนุษย์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา[10]

ในมาเลเซีย ได้ใช้เสือโคร่งเป็นตราแผ่นดินและสัญลักษณ์ของประเทศ โดยทีมฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียก็ได้รับฉายาว่า "เสือเหลือง" ด้วยเช่นกัน[11]

สำหรับความเชื่อทางโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเสือโคร่ง เช่น กระดูก กะโหลก เขี้ยว เล็บหรือหนังใช้เป็นเครื่องรางป้องกันภูผีปีศาจหรือเสนียดจัญไรได้ นอกจากนี้แล้วในตำรายาจีนอวัยวะของเสือโคร่ง เช่น อวัยวะเพศผู้เชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ หรือเสริมสร้างสมรรถนะทางเพศ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดเพราะจากการได้ศึกษาแล้วก็พบว่าเป็นเพียงอาหารให้โปรตีนเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ แต่จากความเชื่อนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เสือโคร่งถูกล่าจนเกือบสูญพันธุ์จากธรรมชาติเช่นในปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสือโคร่ง http://www.goal.com/th/news/4280/%E0%B8%9F%E0%B8%B... http://www.ubonzoo.com/wild_animals/tigris.html http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/15... http://www.savethetigerfund.org http://www.thairath.co.th/content/514459 http://app.tv5.co.th/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%97%E... https://mgronline.com/indochina/detail/95900000354... https://www.nst.com.my/news/nation/2019/08/509651/... https://www.iucnredlist.org/species/136893/5066502... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Panthe...